วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

                  2.1  การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึง

                  ความสามารถ หรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน
                    (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                          (1.1) ในช่วงฤดูแล้งน้ำที่ใช้อุปโภค – บริโภค ไม่เพียงพอต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน
                          (1.2) มีพื้นที่กว้างไม่สามารถปกครองได้อย่างทั่วถึง
                          (1.3) ชาวบ้านที่เข้ามาอยู่อาศัยไม่ถาวร
                      ด้านเศรษฐกิจ

                                    -  ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ

                             -  ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน

                             -  ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ

                             -  ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ

                             -  ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ

                                   ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และ        

                     วัฒนธรรม)

                             -  เด็กและเยาวชนติดสิ่งเสพติด

                             -  ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม

                             -  ปัญหาครอบครัวแตกแยกทำให้เด็กขาดความอบอุ่น

                             -  คนวัยทำงานต้องไปประกอบอาชีพ  ทำให้ขาดผู้ดูแลผู้สูงอายุ

                             -  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน

   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                             -  การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแลทำให้มีความเสื่อมโทรม

                             -  สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดินทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดี 

                                  เท่าที่ควร

                             -  สภาพดินในพื้นที่ทำให้ต้องมีการบำรุงดิน

                             -  ขาดการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    ด้านการเมืองและบริหารจัดการ

                                                -  ประชาชนไม่มีความสนใจด้านการเมืองทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น

                                                -  การจัดการด้านต่างๆ  ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า

                                                -  การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร

                        ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                             - การคมนาคมภายในหมู่บ้านมีบางสายที่เป็นถนนลูกรังทำให้เกิดความยากลำบาก 

                               โดยเฉพาะ  ช่วงฤดูฝน

    ด้านสาธารณสุข

                          -  ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่ถูกวิธี

                          -  ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

                          -  ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ยารักษาโรค

                   (2) จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                         (2.1) มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่เข้มแข็ง
                         (2.2) สังคมความเป็นอยู่แบบพหุวัฒนธรรม 
                         (2.3) มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
                         (2.4) มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น  ตัดเย็บเสื้อผ้ากลุ่มเบเกอรี่

                                   ด้านเศรษฐกิจ

                         - มีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ชุมชน

                         -  มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ

                         -  สามารถผลิตผ้าคลุมได้ตามความต้องการของตลาด และผู้บริโภค

                         -  กลุ่มผู้ค้าขายมีความสามารถในการนำเสนอผลิตผลได้เอง

                         -  กลุ่มผู้ค้าขายมีความเข้มแข็ง และมีการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ค้าขาย

                        ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และ 

                    วัฒนธรรม)

                                       -  ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน

                         - ประชาชนมีความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของหมู่บ้าน

                         -  ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันถ้อยที่ถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน

                         -  หมู่บ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข

                       ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                                -  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

                             -  สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ

                             -  ประชาชนรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล

                             -  ประชาชนสามารถจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ได้เอง

                        ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

                                    -  มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง

                             -  การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน

                             -  เป็นหมู่บ้านที่ปลอดความขัดแย้งทางการเมือง

                             -  สามารถบริหารจัดการปัญหาของหมู่บ้านได้เอง

                         ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                             -  ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน  โดยส่วนใหญ่มีความพร้อม  และสามารถสร้าง 

                               ความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

   ด้านสาธารณสุข

                               - ออกกำลังกายสม่ำเสมอส่งผลทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง

                            

๒.๒ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและ              อุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
                   (1) โอกาส
                    (1.1)นโยบายของรัฐให้ความสำคัญและเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วน

                      ร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ
                   (1.2)รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินทุนให้กับหมู่บ้านในรูปของ กองทุนหมู่บ้านและ                  กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
                   (1.3)โครงการส่งเสริมอาชีพจากกศน. / กรมแรงงาน
                   (1.4) โครงการต่าง ๆ ที่เข้ามาในหมู่บ้าน เช่น พนม.

                    (2) อุปสรรค
                      (2.1) ขาดการส่งเสริมและการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                      (2.2) ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ                

                      (2.3) การเลือกตั้งเป็นตัวสร้างปัญหาของความแตกแยกของคนในหมู่บ้าน
                      (2.4) ประชาชนไม่มีความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สิน

                      (๒.๕) การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร

๒.๓ วิสัยทัศน์ (ทิศทางการพัฒนา)

ซรายอ  น่าอยู่  มุ่งสู่สังคมพหุวัฒนธรรม  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๔ ยุทธศาสตร์
          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  1  ส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  2  สนับสนุนอาชีพให้แก่กลุ่มสตรีในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3  ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามหลักปรัชญา                                     เศรษฐกิจพอเพียง

๒.๕. กลยุทธ์
          กลยุทธ์    จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

          กลยุทธ์    จัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กลุ่มสตรีในหมู่บ้าน

          กลยุทธ์    ปลูกฝังในทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง  เน้นปลอดสารพิษ

 

2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

      หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน  การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ
SWOT  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด


ลำดับความสำคัญ

ปัญหาและความต้องการ

สาเหตุของปัญหา

แนวทางการแก้ไข

1

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

2

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

3

น้ำขังในบางพื้นที่ไม่สามารถระบายน้ำได้

ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

ขุดลอกคูระบายน้ำ

4

ปัญหาขยะมูลฝอย

ไม่มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

จัดอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันในแต่ละคุ้ม

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

1. แผนที่หมู่บ้าน 2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน           ในสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ บือลูการซาไก ” สมัยก่อนที่หมู...